Journey 01_‘ในทางกลับกัน…: Animation in the other way round’

ภาพในวันงานระหว่างกิจกรรมแรก :)
ภาพในวันงานระหว่างกิจกรรมแรก 🙂

Animation เป็น เครื่องมือ (tool/medium)

= ไม่มีนิยามความตายตัว ?
= เชื่อมโยงกันด้วยพื้นฐานของ persistence of vision ?
= มีหรือไม่มี storytelling ก็ได้?
= มีหรือไม่มี character ก็ได้ ?

ถ้าไม่ตั้งคำถามใหม่ เราก็จะไม่เจอคำตอบใหม่ๆ
=> อะไรที่จะนำไปสู่การขยายขอบเขตการสร้างงานให้กว้างกว่าเดิม?


What is ‘animation’?
What is ‘life’?


มาสังเกต เรียนรู้ และทดลองสร้างงานแอนิเมชันร่วมกันแบบ Collective ด้วยเทคนิค Charcoal Animation ที่จะวาดและลบบนกระดาษแผ่นเดียว เปิดมุมมองใหม่จากความเข้าใจในการสร้างงานแอนิเมชันแบบ Frame by Frame ที่ต้องวาดทีละแผ่น กิจกรรมนี้ยังมีไฮไลต์เป็น Movement Performance ที่ทุกคนจะได้ตั้งคำถามต่อการรับรู้การเคลื่อนไหว การเปลี่ยนแปลง และชีวิต ที่อาจทลายกรอบคิดเดิม ๆ ของงานแอนิเมชัน


FB event

PR material Designed by Wardphan Diloksambandh

การมีชีวิต – ไม่มีชีวิต แตกต่างกันอย่างไร?

ในกระบวนการสร้างงาน ‘Animation’
การที่บางสิ่งบางอย่าง’มีชีวิต’ได้นั้น
ใช่เพียงแค่มันสามารถขยับเขยื้อนเคลื่อนไหวหรือเปล่า?


ที่มาของกิจกรรม

Animation เป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ที่สร้างรายได้ให้บริษัทและผู้ประกอบการในประเทศไทยจำนวนไม่น้อย แต่ส่วนมากจะเป็นงานประเภท Service มากกว่างาน Intellectual Property ที่มาจากผู้สร้างสรรค์ชาวไทยเอง เมื่อถามถึงสาเหตุ…หลายๆ คนในอุตสาหรรม Animation ก็มักจะพูดว่า ‘ผู้ให้ทุน’ ยังไม่เปิดกว้าง ไม่สนับสนุนไอเดียใหม่ๆ รวมไปถึงปัญหาที่การวัดคุณค่าของ Animation จาก ‘มูลค่า’ ที่ขายได้

ปัญหาต่างๆ ที่ทำให้อุตสาหกรรมในไทยไม่เกิดการพัฒนาในแง่ของ Intellectual Property เท่าที่ควรนั้นมีหลากหลายปัจจัย เช่น มุมมองและการรับรู้ Animation ของผู้ชมส่วนมากต่อความหลากหลายในเชิงการเล่าเรื่องและความงามด้านภาพที่มักจะยึดติดอยู่กับความงามในเชิงฝึมือ (craftmanship), การสนับสนุนให้ศิลปินรายย่อย (independent animation artist) สามารถต่อยอดผลงาน Short Film ด้วยทีมขนาดเล็ก ยังมีน้อยกว่าการสนับสนุนบริษัทระดับใหญ่ที่เน้นงาน Feature Film และ Animated Series รวมไปถึงยังขาดความเข้าใจเรื่องการ Collaborative ร่วมงานกับคนจากสายงานอื่นๆ ด้วยมุมมองใหม่ๆ

ทีมงานเวิร์คชอป ‘ในทางกลับกัน…: Animation in the other way round’ จึงร่วมกันออกแบบเวิร์คชอปที่จะสร้างมิติใหม่ในการมอง Animation ให้กว้างกว่าเดิม ชวนผู้เข้าร่วมมาลองมอง Animation ในฐานะเครื่องมือหนึ่งของการสร้างสรรค์งานศิลปะ ที่ใครๆ ก็สามารถเข้าถึงได้ โดยไม่จำกัดด้วยกระบวนการสร้างงานที่ซับซ้อน


Animation ไม่ใช่ genre แต่เป็นเครื่องมือหนึ่งในการสื่อสาร แสดงออก และสำรวจอะไรใหม่ๆ

PR material Designed by Wardphan Diloksambandh

นอกจาก Animation จะถูกใช้ในการสร้างสรรค์แล้ว
เราจะชวนคุณมาลองใช้ Animation ในฐานะเครื่องมือในการสำรวจ
และเรียนรู้ความนึกคิด’ระหว่างทาง’ด้วย

Animation making as a way to make sense of the world”


หนึ่งใน Feedback จากผู้เข้าร่วมกิจกรรม

จุดประสงค์ของกิจกรรม 

ให้แว่นตาผู้ชมสำหรับใช้ดูงานศิลปะ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง Experimental Animation ผ่านการเปิดประสาทการรับรู้และสังเกตผ่านทั้งสายตาและการฟัง และท้าทายมุมมองการรับรู้ภาพเคลื่อนไหว / ‘การเปลี่ยนแปลง’ / สังเกตพื้นที่ ‘in-between’ ด้วยการสร้างงานแบบ Collective Animation


What is Collective Charcoal Animation?

Collective Charcoal Animation คือการทำงานร่วมกันบนพื้นที่และเวลาเดียวกันในหนึ่งชั่วขณะ ทุกคนมีเครื่องมือวาดคือแท่งถ่านและยางลบ โดยเราใช้เทคนิคจับจังหวะด้วยคำว่า ‘หนึ่งลมหายใจ’ ที่ได้มาจากคำแนะนำของคุณเบญ ผู้มาร่วมเล่นในวันซ้อมใหญ่และให้ Feedback ในการพัฒนากิจกรรมกับพวกเรา

จากกิจกรรมแรก Collective Charcoal Animation ที่ชวนให้คนลอง’เล่น’ร่วมกัน สู่กิจกรรม highlight ด้วย Performance
ผลลัพธ์จากกิจกรรม Collective Charcoal Animation Exercise

สรุปกิจกรรม
(อ่านใน PDF พร้อมภาพบรรยากาศงานได้เลยค่ะ)


[ Movement Perception and Observation ]

เปิดตัว Highlight หลักของเวิร์คช็อป”ในทางกลับกัน… Animation In The Other Way Round”
กับกิจกรรมที่เน้นเปิดประสาทการรับรู้การเคลื่อนไหวและการบันทึกการเคลื่อนไหว

เราจะชวนคุณมาปลดปล่อยตัวเองจากความเข้าใจเดิมๆของการสร้างภาพเคลื่อนไหว
ผ่านการสำรวจ Movement Performance สุดพิเศษจากพี่นาฏ (สินีนาฏ เกษประไพ)
และลองใช้ Charcoal Animation ในฐานะเครื่องมือสำรวจ’การเปลี่ยนแปลง’ อย่างละเอียดละออ

———

“Journey is more important than the destination

ประสบการณ์ระหว่างทางสำคัญกว่าการไปถึงจุดหมาย”

———

‘In-between’

เป็นคำที่คนในวงการอนิเมชั่นหลายๆคนคุ้นเคยดี มันก็เหมือนคำว่า ‘gap’ ที่แปลว่า ‘ช่องว่างระหว่างสองสิ่ง’
หรือให้เปรียบเปรยอาจจะเรียกว่า ‘Journey’ หรือ พื้นที่ระหว่างทางจากจุดหมายหนึ่งไปอีกจุดหมายหนึ่งก็ได้

“การเปลี่ยนแปลงจาก สภาวะ A ไป สภาวะ B จะต้องมีพื้นที่ว่างระหว่างสองสภาวะนั้นอยู่เสมอ”

ยิ่งช่องว่างระหว่างสองสภาวะนี้ห่างกันมากเท่าไหร่
เราก็ยิ่งมีพื้นที่และเวลาในการสำรวจ ‘สภาวะการเปลี่ยนแปลง’ มากขึ้นเท่านั้น

เราจะชวนคุณมาลองใช้ Animation ในฐานะเครื่องมือในการเดินทาง เรียนรู้จากประสบการณ์ ‘ระหว่างทาง’
และให้ความสำคัญกับการ ‘เปลี่ยนแปลง’ แตกย่อยการเคลื่อนไหว
ให้หลุดจากกรอบของ frame by frame ที่คุณเคยเข้าใจ
เพื่อหา ‘in-between’ ในแบบของคุณเองกันค่ะ 🙂


ข้อความจาก Note ของพี่นาฎ

นึกทบทวนตัวเองจากการเริ่มฝึกเป็นนักแสดงกับครูคำรณที่เปิดประตูทำให้เรารู้จักร่างกายเป็น medium หรือเป็นภาชนะในการสื่อสารส่งความหมายและได้รับแนวคิดเริ่มต้นจาก “Body is the doorway into the work.” ของ Grotowski จนฝึกฝนเรียนรู้มาเจอกับ “Body become a vessel” แนวคิดร่างกาย Butoh ของ Hijikata

แก่นแกนความคิดที่มีส่วนคล้ายกัน (นอกจากนี้ก็มีกูรูผู้กำกับของโลกนี้อีกหลายคนนะที่มีแนวคิดนี้) ซึ่งมันได้ผลอย่างประหลาดสำหรับเรา และนี่ก็เลยกลายเป็นความสนใจของเรา การเปิดประตูร่างกายเชื่อมโยงจิตใจ ได้ทำความรู้จัก ฝึกฝน ใช้งาน ขยาย range ความสามารถ เรียกมาได้ ปล่อยไปได้ ร่างกายของนักแสดงคือสื่อกลางในการสื่อความหมาย ในกระบวนการละคร เรานักแสดงมีหน้าที่ทำให้ตัวบทซึ่งเป็นตัวหนังสือของผู้เขียนผสานกับความคิดของผู้กำกับ ทำให้ตัวละครมีชีวิตขึ้นมา กระบวนการแบบนี้ก็คล้ายๆกับการฝึกเชิดหุ่น คือหุ่นวางไว้ก็เป็นแค่สิ่งของหรือตุ๊กตา แต่ถ้าเราจับขยับก็ทำให้เขาดูเหมือนมีชีวิต เราใส่แรงหรือให้พลังชีวิตนั่นเอง

ตรงจุดนี้น่าจะมีส่วนหรือเป็นจุดร่วมกับงาน animation ได้ ตรงที่แค่ไม่ใช่เส้นสายและเทคนิคที่ทำให้มันขยับ เพราะบางคนทำให้ดูเหมือนมีชีวิตได้ แต่บางคนทำได้แค่ดูเหมือนแค่หุ่นยนต์ ซึ่งตรงนี้แหละคือจุดน่าสนใจว่าอะไรล่ะคือแก่นสาระของการทำให้ตัวละครมีชีวิต

นักเรียนละครและนักแสดงรู้จักกันดีอยู่ว่า ปลายทางของเรื่องหรือจุดจบของเรื่องนั้นไม่ใช่ที่สุด ไม่ได้สำคัญไปกว่าระหว่างทาง ระหว่างทางต่างหากที่สำคัญที่จะทำให้คนดูอยู่กับเรา being the moment กับละครหรือการแสดงของเรา in between นี้ หรือ ‘MA’ ในทางของ Butoh ยิ่งให้ความสำคัญกับ ช่องว่าง ในพื้นที่ว่าง ระหว่างพื้นที่ ระหว่างเวลา มีอะไรอีกมากมายที่รอให้เราได้ทำการสำรวจ และเราจะใช้ร่างกายในการเดินทางสำรวจนี้

นี่คือความน่านสนใจ นี่เป็นเหมือนการทดลองร่วมกัน

ซึ่งในงานนี้ ‘Animation in the other way round’ สำหรับเรา เป็นเรื่องที่น่าตื่นเต้นยินดีที่จะได้ขยับขับเคลื่อนไหวร่างกายในพื้นที่และเวลาเดียวกันกับผู้สังเกตุการณ์ และจะได้ถูกบันทึกห้วงขณะไว้ด้วยเส้นสายลวดลายต่างๆ ความเป็นไปได้ระหว่างทางที่เราจะได้ปะทะกับประสบการณ์นี้ร่วมกัน

เอาไว้ทำแล้วได้พบเจอกับช่วงขณะแบบไหนยังไงได้บ้าง แล้วจะมาเล่าต่อ

Note: about my next project “Body Earth”
in ‘ในทางกลับกัน…Animation in the other way round’ at TCDC


ย้อนรอยจุดเริ่มต้นจริงๆ+อุปสรรค+อนาคต

เมื่อประมาณต้นปี 2021 เบลล์ (เกวลี วรุตม์โกเมน) และพี่จั๊ก (วาดฝันย์ ดิลกสัมพันธ์) ได้รับการติดต่อจากพี่เดียร์(Senior Knowledge Management Officer ที่ Creative Economy Agancy(CEA) ณ. เวลานั้น) ให้ร่วมทำเนื้อหาสำหรับ Exhibition ที่จะจัดแสดงในห้องนิทรรศการของ TCDC รวมทั้งจัดการเรื่อง Skill transfer ที่จะเป็นกิจกรรมส่งต่อองค์ความรู้ควบคู่กับนิทรรศการนั้น ภายในหัวข้อเรื่อง ‘Animation’

ระหว่างนั้นเบลล์กับพี่จั๊กยังอยู่ที่เอสโตเนีย แต่เบลล์ก็คิดว่านี่เป็นโอกาสที่ดีมากกกกกกก…จึงรีบชักชวนนัท (Graphy Animation) มาร่วมทีม ซึ่งเราเคยคุยกันบ่อยๆอยู่แล้วว่าอยากทำกิจกรรมส่งเสริม independent Animation ในไทยแต่เนื่องจากมันเป็นการจัดนิทรรศการที่เราตั้งใจให้มันเข้าถึงได้จากหลายๆมุมมอง เบลล์จึงชวนพี่ฟอน(วรพจน์ อินเหลา) มาเป็นตัวแทนคนทำงานศิลปะแขนงอื่น ที่จะมาช่วยทลายกรอบ Animation ในเชิง concept ด้วย และชักชวน เล่ (กนิษฐรินทร์ ไทยแหลมทอง) กับ อาจารย์ภัทร(ภัทร นิมมล) มาช่วยเติมเต็มในส่วนคนในวงการศึกษาและ Animation ทีมขนาดเล็ก

ที่สำคัญขาดไม่ได้เด็ดขาด คือพี่จั๊ก(วาดฝันย์ ดิลกสัมพันธ์) เพราะเบลล์เป็นสายฟุ้ง ต้องมีคนคอยจัดระเบียบและดูตรรกะความเป็นจริงด้านจัดการด้วย และพี่จั๊กเองก็มีความรู้ด้านดนตรีซึ่งเป็นสิ่งที่ส่งผลกับการรับรู้มากๆสำหรับ Animation

ชวนพี่ฟอนมา และชวนพี่ฟอนร่วมลงไป 'เล่น' กับผู้เข้าร่วมด้วย เพราะเราเองก็อยากฟังมุมมองของพี่ฟอนจากกระบวนการนี้เช่นกัน
ชวนพี่ฟอนมา และชวนพี่ฟอนร่วมลงไป ‘เล่น’ กับผู้เข้าร่วมด้วย เพราะเราเองก็อยากฟังมุมมองของพี่ฟอนจากกระบวนการนี้เช่นกัน

ทีมงานทั้งหมด 6 คน ร่วมประชุม ถกเถียง ตั้งคำถาม หาคำตอบ ตกตะกอนกับคำว่า ‘Animation’ มาหลายเดือน ช่วงวันหยุดสุดสัปดาห์หลังเลิกงานประจำกัน เป็นเหมือนช่วงเวลา Round Table ที่แสนวิเศษ … ชวนกันมองไปถึงแก่นของรากศัพท์คำว่า ‘Anima’

แม้การเสนอไอเดียที่จะเล่าถึง Animation ในมุมมองที่ไม่ใช่อุตสาหกรรมจะไม่ใช่เรื่องง่ายๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในพื้นที่ที่ขึ้นชื่อว่าส่งเสริม ‘เศรษฐกิจสร้างสรรค์’ แต่พี่เดียร์ก็ยังช่วยผลักดันให้มันยังไปได้อยู่ จนเมื่อประมาณกลางปี 2021 ที่ทีมงานเราโดนลอยคอ pause โปรเจคอยู่นานเนื่องจากสถานการณ์ Covid รุนแรงในไทย…พวกเราก็ยังหวังจะได้ทำงานนี้ต่อด้วยกันอีก!

ปลายปี 2021 – ต้นปี 2022 โครงการดั้งเดิมจะถูกยุบไปจนเหลือเพียง Online Exhibition และ Talk + Workshop แต่เราก็ยังไปต่อกัน เพราะสู้กันมาขนาดนี้แล้ว มันต้องได้ทำอะไรแบบที่หวังไว้หน่อยเถอะ! คุณนุก เป็นคนที่มารับไม้ต่อจากพี่เดียร์และในที่สุด พวกเราก็ได้เดินหน้าเต็มที่กับกิจกรรมครั้งนี้เสียทีหลังจากรอคอยมาเกือบปี

พี่จั๊กเคยช่วยเบลล์และเพื่อนๆตอนจัด Colleague Creative Workshop มาแล้ว ครั้งนี้ก็มาช่วยเต็มแรงอีก :)
พี่จั๊กเคยช่วยเบลล์และเพื่อนๆตอนจัด Colleague Creative Workshop มาแล้ว ครั้งนี้ก็มาช่วยเต็มแรงอีก 🙂

โครงสร้าง workshop ที่นำพามาถึง Charcoal Animation ได้ ส่วนนึงก็ต้องขอยกเครดิตให้กับอาจารย์ Mike Croft ที่เคยสอนอยู่ที่ ComDes บางมด ขอขอบคุณละคร physical theatre ทุกชิ้นที่เป็นแรงบันดาลใจให้เบลล์มาตลอด และที่สำคัญที่สุด Butoh workshop ของพี่นาฎ สินีนาฏ เกษประไพ (ศิลปินศิลปาธร สาขาศิลปะการแสดง ปี พ.ศ. 2551) ซึ่งเป็น workshop ระยะสั้น 2 วันที่ทำให้เบลล์ได้ตกตะกอนและเข้าใจมากขึ้นว่าสิ่งที่เบลล์สนใจและได้รับจาก ‘ละครโรงเล็ก’ มาใช้ในกระบวนการสร้าง animation ของตัวเองนั้นมันคืออะไรกันแน่ 🙂 ซึ่งนี่จะเป็นหัวข้อ MA Animation ของเบลล์ด้วยเช่นกัน


รวมถึงโชคดีที่นัท Graphy Animation ได้ลองทำ Collective Charcoal Animation ร่วมกับเพื่อนๆ MA Animation ในยุโรปอยู่พอดี พอเบลล์เห็นว่ามันเป็นไปได้จริงและไม่ยากเกินไปสำหรับคนอื่น…ก็เลยอยากลองทำมากกกก เพราะที่ผ่านมาเบลล์เคยลองทำ Collective Animation กับเพื่อนแค่ 2 คนในโปรเจค 24 hours animation ที่เอสโตเนียแต่ยังไม่เคยลองมากกว่านั้นเลย link ด้วยความที่ทีมก็ยกให้เบลล์เป็น Director และเบลล์ก็ดื้อขนาดนี้แล้ว ก็เลยจัดไปค่ะ เต็มที่ ลุยๆ 55


…สุดท้ายแล้ว ต้องขอบันทึกเอาไว้ตรงนี้เลยค่ะ ว่างานครั้งนี้จะเกิดขึ้นไม่ได้เลย ถ้าเบลล์ไม่ได้เจอทีมดีๆขนาดนี้ ทุกคนช่วยทำให้เบลล์ได้ตกตะกอน ช่วยต่อยอดความคิด สนับสนุนไอเดีย และเติบโตทางความคิดระหว่างที่ทำงานนี้ตลอด 1 ปีที่ผ่านมา

ที่สำคัญต้องขอขอบคุณพี่ภัทรและคณะดิจิตอลอาร์ต ม.รังสิต ที่ช่วยสนับสนุนเต็มที่ทั้งเรื่องน้องๆ staff และยัง support budget อุปกรณ์เสริมอีก

พี่ภัทรคือ Facilitator และ Moderator มืออาชีพมากๆๆๆ โชคดีมากๆค่ะที่ได้ร่วมงานกับอาจารย์ครั้งนี้
พี่ภัทรคือ Facilitator และ Moderator มืออาชีพมากๆๆๆ โชคดีมากๆค่ะที่ได้ร่วมงานกับอาจารย์ครั้งนี้

ทางคณะดิจิตอลอาร์ต ม.รังสิตยังได้ทำวิดีโอสรุปภาพบรรยากาศตั้งแต่ตอนเตรียมงานจนถึงวันจริงไว้ด้วยค่ะ

เบลล์และพี่จั๊กจะลองหาโอกาสในการจัดกิจกรรมแบบนี้ในบริบทที่มีความยั่งยืนกว่านี้ให้ได้เลยค่ะ!
ยังไงก็รออีกนิดนะ อยากจัดอีกจริงๆค่า… ><

หากพื้นที่ไหนสนใจกิจกรรมแนวนี้ ติดต่อ เบลล์ https://linktr.ee/keawalee.w ได้เลยนะคะ
กำลังอยู่ในช่วงหาผู้ให้ทุนและพื้นที่ในการจัดครั้งต่อไปค่ะ 🙂

#wsในทางกลับกัน #AnimationInTheOtherWayRound

เบลล์


Credit “Workshop ในทางกลับกัน…Animation in the other way round”
*ทุกคนในทีมมีส่วนร่วมในการช่วย form concept มาจนถึงปลายทางอย่างเข้มข้น
แต่ขออนุญาติระบุหน้าที่ช่วงจัดการให้งานเป็นรูปเป็นร่างไว้นะคะ

Workshop Director(Concept) + Co-ordinator w/ CEA :
เบลล์ ( เกวลี วรุตม์โกเมน / Keawalee Warutkomain)

Workshop Director(Management) + Concept&Activity Consultant + Facilitator :
พี่จั๊ก (วาดฝันย์ ดิลกสัมพันธ์ / Wardphan Diloksambandh)

Activity Consultant + Facilitator + Co-ordinator w/ Digital Arts, RSU :
อาจารย์ภัทร(ภัทร นิมมล / Patara Nimmol)

Concept Consultant + Discussion Leader :
ฟอน(วรพจน์ อินเหลา / Worapoj Inlao)

Accountant + Supportive Management + Materials :
เล่ (กนิษฐรินทร์ ไทยแหลมทอง / Kanitharin Thailamtong)

Concept Consultant :
นัท (Thanut Rujitanont) Graphy Animation

Leave a comment